ขา เป็นอวัยวะที่รองรับทุกส่วนในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน วิ่ง ซึ่งบางครั้งเราอาจละเลยและไม่ได้ใส่ใจดูแลเท่าที่ควร จนเกิดอาการปวดเสียด หน่วง หรือเสียวบริเวณขาขึ้นมา สาเหตุของอาการปวดขามักมีลักษณะอาการและตำแหน่งที่แตกต่างกันไป อาจเป็นบริเวณหน้าแข้ง น่อง ต้นขา อาการปวดขาที่เป็นนั้นอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งและหลังจากที่เรานั่งหรือพักอาการเจ็บปวดบริเวณขาก็จะหายไปได้เอง แต่ในบางคนอาจจะมีอาการอื่น ร่วมด้วยเช่น เป็นตะคริว เส้นเลือดขอด ปวดร้าวเข้าไปในกระดูก เป็นต้น

อาการของการปวดขามีอะไรบ้าง ?
อาการปวดขานั้นถ้าเราปวดแบบธรรมดา อย่างที่บอกคือถ้านั่งพักอาการก็จะหายไปได้เอง แต่สำหรับบางคนถ้ามีอาการร่วมด้วยและปวดเป็นระยะเวลานาน หรือมีสัญญาณของอาการต่างๆ ดังนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อการรักษาและป้องกันก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นโรคอื่นๆ ได้
- ขาบวมหรือเป็นเส้นเลือดขอด ที่มีลักษณะเป็นเส้นสีเขียว สีแดง หรือมีเลือดไหลซึมบริเวณขา
- ปวดบริเวณต้นขาเมื่อต้องนั่งเป็นระยะเวลานานๆ
- ปวดขาเมื่อเดิน ยืน หรือทำกิจกรรมต่างๆ
- ปวดขามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีท่าทีว่าจะทุเลาลง
- ขาเริ่มมีอาการซีด บวม มีรอยฟกซ้ำหรือรู้สึกเย็นผิดปกติ
- เริ่มมีอาการสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบบการหายใจ อาจเป็นการหายใจติดขัด หรือรู้สึกว่าหายใจได้ไม่สะดวกนัก
- อุณหภูมิสูงขึ้นมีไข้ ปวดหัวตัวร้อน และมีอาการแดงบริเวณขา กดแล้วเจ็บ
- เดินไม่ได้ ขยับขาไม่ได้ จับแล้วไม่รู้สึก มีอาการชาบริเวณขา
- มีอาการบวมแดงบริเวณขาซึ่งเกิดจากการอักเสบหรือหัก
- มีเลือดซึมออกมาจากบริเวณเส้นเลือดที่บิดนูน
- เส้นเลือดแข็งหรือมีการเปลี่ยนสี ผิวหนังพุพองใกล้ข้อเท้า ซึ่งในกรณีนี้อาจเป็นอาการรุนแรงของเส้นเลือดขอดที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน
- มีอาการคันบริเวณรอบๆ เส้นเลือดขอด
- กล้ามเนื้อช่วงขามีอาการเป็นตะคริวหรือสั่นเป็นจังหวะอยู่บ่อยๆ
กลุ่มกล้ามเนื้อและกระดูกข้อต่อ
ถึงแม้ว่าการปวดขาอาจจะเกิดจากการที่เราใช้ขามากจนเกินไป อย่างบางคนที่ต้องเดินหรือยืนเป็นระยะเวลานาน 6-7 ชั่วโมงต่อวัน ก็อาจจจะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ หรือในบางคนเกิดอาการบาดเจ็บกระดูกหัก กล้ามเนื้อ กระดูกเส้นเอ็นอักเสบ แต่ก็นั่นแหละ อย่าลืมว่าขามีโครงสร้างและเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น ต่างๆ มากมาย อาการปวดขาจึงไม่สามารถระบุไปได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากอะไร อาจมีสาเหตุอื่นๆ ได้อีก เช่น
- การปวดข้อ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดจากการกินอาหารไปกระตุ้นโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคเกาท์ โรคข้ออักเสบ
- การบาดเจ็บ การห้อเลือด อาการในข้อนี้อาจเกิดจากอุบัติเหตุทำให้มีเลือดออกภายในเนื้อเยื่อ เกิดอาการ ฟกซ้ำและบวมแดงได้
- ตะคริว ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายขาดน้ำ กล้ามเนื้อตึงหรืออ่อนแรงจากการถูกใช้งานอย่างหนัก ตะคริวเกิดขึ้นโดยฉับพลัน จะคลายตัวลงก็ต่อเมื่อเราเหยียดหรือยืดขาให้รู้สึกผ่อนคลาย ลักษณะของการเป็นตะคริวคือ เป็นก้อนแข็งๆ ใต้ผิวหนังมีความรู้สึกถึงการเคลื่อนตัวผ่าน ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและทรมานเป็นอย่างมาก
- กล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอก เกิดจากการที่เรายืดกล้ามเนื้อมากจนเกินไป เช่น การออกกำลังกาย ถ้าเราไม่ชำนาญอาจทำให้เกิดการผิดท่า กล้ามเนื้อในส่วนนั้นเกิดอาการบาดเจ็บส่งผลให้ปวดขา
- กระดูกหัก เมื่อเยื่อหุ้มอักเสบและเสียหาย ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นตึงจนปวดขาได้

กลุ่มความผิดปกติที่เส้นเลือดและระบบประสาท
ความเสี่ยงของกลุ่มที่มีความผิดปกติที่เส้นเลือดและระบบประสาท อย่างโรคเส้นเลือดเลือดที่มักจะเกิดกับสาวๆ ซึ่งเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดดำที่อยู่บริเวณใกล้ผิวหนังและขยายตัวออกมา จนเราเห็นเป็นเส้นนูน บิดเบี้ยว หรือเป็นแบบเส้นใยแมงมุม เส้นเลือดขอดจะเป็นมากที่ขา บริเวณ น่อง ต้นขา ข้อพับ นอกจากนั้นยังมีความปิดปกติของเล้นเลือดที่ระบบประสาทที่ส่งผลให้ปวดขาได้อีก เช่น
- โรคเบาหวาน โรคนี้เกิดจากขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้ผู้ที่เป็นเกิดแผลที่บริเวณเท้าหรือขาได้ง่าย
- ลิ่มเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการตีบหรืออุดตัน เกิดการอักเสบและบวมแดง ลุกลามเป็นอาการปวดขาได้
- การเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง เช่น การเป็นโรคมะเร็ง ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณขาเกิดอาการอ่อนแรงได้
- โรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ มักจะเกิดขึ้นบริเวณต้นขา เนื่องจากมีการกดทับบริเวณนั้น
หากเราต้องรักษาอาการปวดขาด้วยตนเอง
ในกรณีที่เราปวดขามากๆ เราต้องหาวิธีรักษาและบรรเทาอาการปวดขาด้วยตนเองก่อน อาจจะทำให้อาการปวดขาที่เกิดขึ้นนั้นดีขึ้นได้
- หลังจากที่มีอาการปวดขาที่เกิดจากการใช้งานหนัก ต้องงดใช้หรือพักขาก่อน โดยการแช่น้ำอุ่นหรือวางขาไว้บนหมอน ยกขาให้สูงกว่าลำตัว จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
- นำน้ำแข็งมาประคบบริเวณที่รู้สึกปวด เป็นระยะเวลา 20-30 นาที เพราะความเย็นช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ช่วยลดอาการปวดได้
- รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล แล้วนอนหลับพักผ่อน
- ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อหรือเหยียดขาให้ตรง เป็นเวลา 5-10 วินาที เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย
- ใส่ผ้ารัดหรือถุงน่องเส้นเลือดขอด เพื่อช่วงป้องกันอาการบวม และบรรเทาอาการปวดขา ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ดีขึั้น
- หลีกเลี่ยงการใส่ส้นสูง การใส่ส้นสูงเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขาเกิดอาการเกร็ง ส่งผลให้เกิดอาการปวดขา
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยได้ทั้งอาการปวดขาและโรคเส้นเลือดขอด
เข้าพบแพทย์
หลังจากที่เราพยายามรักษาตนเองกับสาเหตุของอาการปวดขาด้วยวิธีการข้างต้นแล้วแต่ยังรู้สึกว่า เจอสัญญาณหรืออาการบางอย่างของอาการปวดขาที่อาจพัฒนาไปเป็นโรคอื่นๆ ได้ จนต้องไปปรึกษาแพทย์ แพทย์จะมีการสอบถามอาการก่อนที่จะเริ่มต้นตรวจร่างกาย อาจมีกระบวนการรักษาต่างๆ ประมาณนี้
- เริ่มต้นจากการตรวจเลือด ซึ่งเป็นการตรวจนับเม็ดเลือดขาวและการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง และการอักเสบในร่างกาย การตรวจแบบนี้จะทำให้รู้ว่ามีภาวะการติดเชื้ออะไรบ้าง เช่น โรคเกาท์ ก็จะมีการตรวจระดับกรดยูริคเพิ่มขึ้นด้วย
- ในกรณีที่เป็นเส้นเลือดขอด จะมีการอัลตราซาวด์ โดยตรวจเพื่อดูการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือด และหาร่องรอยของลิ่มเลือดที่อาจทำให้เกิดการบวมและแดงได้
- การฉีดสารเข้าหลอดเลือด วิธีนี้จะทำให้อาการปวดขาลดลงและตัวเล้นเลือดขอดเองก็จะทุเลาลงด้วย
- การผ่าตัดรักษาด้วยเลเซอร์ คือการยิงแสงไปยังบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดขา ก็จะทำให้เส้นเลือดขอดค่อยๆ จางหายไปในที่สุด
- การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ถ้ามาถึงการรักษาด้วยวิธีการปวดขาถือเกิดจากเส้นเลือดขอดนี้ถือว่าอาการค่อนข้างหนักถึงรุนแรง ต้องนำกล้องขนาดเล็กผ่านรอยผ่าขนาดเล็กๆ ที่ขา เพื่อจะได้เห็นเส้นเลือดขอดที่ก่อให้เกิดรอยรั่ว

วิธีการรักษาอาการปวดขา
สำหรับใครที่ไม่อยากปวดขาหรือเป็นโรคเส้นเลือดขอดที่ทำให้เกิดการเจ็บปวดและทรมาน เราสามารถป้องกันและยับยั้งอาการเหล่านั้นได้เพียงเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดขา เช่น
- เลี่ยงการเดินหรือยืนเป็นระยะนานๆ เพราะการทำเช่นนี้เหมือนเป็นกดทับทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีนัก พยายามขยับร่างกายบริเวณขาบ่อยๆ หรือลุกขึ้นยืนแล้วเขย่งเท้า หมุนข้อเท้าบ้าง
- เลี่ยงการนั่งไขว้ห้าง การนั่งแบบนี้เป็นการกดทับเลือดไหลเวียนไม่สะดวกทำให้ปวดขาและเป็นเส้นเลือดขอดได้
- ออกกำลังกายบ้าง เคลื่อนไหวร่างกายบ้าง เลือดจะได้รับการไหลเวียนส่งผลให้เลือดบริเวณขาไม่คั่ง ไม่มีการปวดบวม
- ก่อนนอนพยายามยกขาให้สูง โดยวางขาไว้บนหมอนประมาณ 2-3 ใบ ให้สูงกว่าระดับหัวใจ กระตุ้นให้เลือดไหลเวียน
- ควบคุมน้ำหนักตัว และรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น กล้วยและไก่
สวมใส่ถุงน่องทางการแพทย์เส้นเลือดขอด Class 2 ซึ่งเป็นระดับที่นิยมมากที่สุด ถุงน่องเส้นเลือดขอดระดับนี้จะช่วยป้องกันอาการเส้นเลือดขา แต่สำหรับใครที่ไม่ได้เป็นเส้นเลือดขอด ก็สามารถใส่เพื่อบรรเทาอาการขาบวมหรืออาการปวดขาได้ เพราะถุงน่องจะมีแรงดันช่วยบีบรัดทำให้เลือดที่คั่งบริเวณขาไหลเวียนได้สะดวกทำงานได้อย่างปกติ ตอนนี้ทางเว็บ RemedyVein.com กำลังจัดโปรโมชั่นพิเศษ
รับสิทธิ์คลิ๊กได้ที่นี่ ถุงน่องเส้นเลือดขอด
อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพขาของตนเองนะคะ
และนี่คือสาเหตุของอาการปวดขา การป้องกันและการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโรคปวดขาอาจไม่ได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตแต่บางครั้งอาจเป็นปัญหาเรื่องการเจ็บปวด ทรมานในชีวิตประจำวัน เพราะถ้าต้องปวดขาในทุกๆ วัน ก็คงไม่เป็นผลดีเท่าไหร่ ไหนจะต้องกินยาแก้ปวดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายอีก หรือถ้าเราปวดขาจากอาการโรคเส้นเลือดขอดก็จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความสวยความขาบริเวณเรียวขาของสาวๆ ได้ เพราะฉะนั้นใครที่กำลังรู้สึกว่าเริ่มมีสัญญาณเตือนถึงอาการปวดขาเหล่านั้นแล้ว ต้องรีบหาทางป้องกันโดยด่วน เพราะถ้าหากว่าเป็นแล้ว แล้วมารักษาทีหลังก็จะเสียเงิน เสียเวลา หงุดหงิดเสียสุขภาพจิตอีกด้วยค่ะ